บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในการปฎิบัติการเคมี




ความปลอดภัยและทักษะในปฎิบัติการเคมี


ประเภทของสารเคมี
2.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการอีก 1
3.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ต่อจากเลข 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายอีก 1
4.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และไม่มีตัวเลขอื่นต่อจากเลข 5 ต้องพิจารณาตัวเลขที่อยู่ หน้าเลข 5 ดังนี้
4.1 ภาคตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ตัวเลขดังกล่าวบวกค่าเพิ่มอีก 1 แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด
4.2 หาตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ให้ตัวเลขดังกล่าวเป็นเลขตัวเดิมตัว แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด

 ฉลากของสารเคมี
      1.ชื่อผลิตภัณฑ์
      2.รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
             -ระบบ GHS แสดงในสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมกรอบสีแดง พื้นสีขาว
             -ระบบ NFPA ใช้สีแทนความเป็นอันตรายด้านต่างๆ
                      -สีแดงแทนความไวไฟ
                      -สีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
                      -สีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี
                      -ช่องขาวใส่อักษรหรือสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายด้านอื่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ GHS
      3.คำเตือน ข้อมูล ความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
      4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
   นอกจากนี้ยังต้องมีเอกสารความปลอดภัยซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอย่างละเอียด

ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี
ก่อนทำปฏิบัติการ
      1.ศึกษาขั้นตอนให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง
      2.ศึกษาข้อมูลสารเคมี เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง
      3.แต่งกายให้เหมาะสม
ขณะปฏิบัติการ
  ข้อปฏิบัติทั่วไป
      1.สวมแว่นตานนิรภัย เสื้อคลุมปฏิบัติการ ถุงมือ ผ้าปิดปาก ทำปฏิบัติการที่ที่อากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
      2.ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในห้องปฏิบัติการ
      3.ไม่ทำการทดลองตามลำพังคนเดียว
      4.ไม่เล่น ไม่รบกวนผู้อื่นในห้องปฏิิบัติการ
      5.ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด
      6.ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อนทำงานโดยไม่มีคนดูแล
  ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
      1.อ่านชื่อสารก่อนใช้
      2.การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมี ต้องทำด้วยยความระมัดระวัง
      3.ต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตนเองและผู้อื่น
      4.ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง ถ้าต้องทดสอบกลิ่นให้ใช้มือโบกให้ไอของสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
      5.การเจือจางกรด ให้เทกรดลงน้ำ
      6.ไม่เทสารเคมีที่เหลือกลับเข้าขวด
      7.เมื่อสารเคมีหกเล็กน้อยให้ทิ้งลงในภาชนะทิ้งสาร หากหกปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน
หลังทำปฏิบัติการ
      1.ทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บให้เรียบร้อย
      2.ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ ให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

การกำจัดสารเคมี
      1.สารเคมีของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้ ไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมากๆ
      2.สารละลายเข้มข้นบางชนิด ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ ทำให้เป็นกลางก่อน
      3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ไม่เกิน 1 กิโลกรัม ใส่ภาชนะมิดชิด พร้อมติดฉลากชื่อให้ชัดเจน
      4.สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ทิ้งในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการเตรียมไว้

การปฐมพยาบาลเมื่่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
      1.ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออก ซับสารรเคมีออกจากร่างกาย
      2.สารเคมีละลายน้ำได้ เปิดน้ำไหลผานปริมรณมาก
      3.สารเคมีไม่ละลายน้ำ ล้างด้วยสบู่
      4.ปฎฃฏิบัติต่มข้อกำหนดมในเอกสารความปลอดภัย

การปฐมพยาบาลเมื่อสูดแก๊สพิษ
      1.ไปบริเวณที่มีการถ่ายเทสะดวก
      2.ผู้ช่วยเหลือสลมอุปรณ์ที่เหมาะสม
      3.ปลดเสื้อผ้า จับนอนคว่ำตะแคง
      4.หากหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ

การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
      ตะแคงศีรษะให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง เปิดน้ำเบาๆไหลผ่านดั้งจมูกผ่านตาที่โดนสารเคมี อย่างน้อย 10 นาที

การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าปาก
      ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัย

การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
      แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำ แล้วทายาขี้ผึ้ง หรือเจลว่านหางจระเข้

การวัดปริมาณสาร
      ความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกันของค่าที่ได้จากการวัด
      ความแม่น คือ ความใกล้เคียของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ำเทียบจากค่าจริง
      ข้อมูลที่มีการกระจายตัวน้อยและค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าจริง เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

อุปกรณ์วัดปริมาตร
      -บีกเกอร์
      -ขวดรปกรวย
      -กระบอกตวง
      -ปิเปตต์
      -บิวเรตต์
      -ขวดกำหนดปริมาตรสาร
      การใช้สายตาต้องอยู่ระดับเดียวกับของเหลว อ่านที่ท้องน้ำ อ่านตามใขีดบอกปริมาตร และประมาณค่าทศนิยมลำดับสุดท้าย

อุปกรณ์วัดมวล
      -เครื่องชั่ง
           -เครื่องชั่งแบบสามคาน
           -เครื่องชั่งไฟฟ้า

เลขนัยสำคัญ
 การนับเลขนัยสำคัญ
      1.ตัวที่ไม่ใช่ศูนย์ นับเป็นเลขนัยสำคัญ
      2.ศูนย์ที่อยู่ระหว่างเลขอื่น นับเป็นเลขนัยสำคัญ
      3.ศูนย์อยูหน้าเลขอื่นไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
      4.เลขหลังทศนิยมเป็นเลขนัยสำคัญ
      5.เลขศูนย์หลังเลขอื่นที่ไม่ใช่มีทศนิยม นับหรอไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญก็ได้
      6.ตัวเลขแม่นตรง เป็นตัวเลขที่ทราบค่าแน่นอน มีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์
การปัดตัวเลข
1.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่ อยู่ถัดไปทั้งหมด
  การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ  
      ในการบวกและการลบ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากบจำนวนเลขหลังจุดทศนิยมที่น้อยที่สุดของตัวเลขชุดนั้น
 การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ 
      ในการคูณและการหาร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดของตัวเลขชุดที่นา มาคูณหรือหารกัน

หน่วยวัด
  หน่วยเอสไอพื้นฐาน
 หน่วยเอสไออนุพันธ์
 หน่วยนอกระบบเอสไอ

แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
      เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่ต่างกัน 2 หน่วย ที่่มีปริมาณเท่ากัน

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
      1.การสังเกต
      2.การตั้งสมมติฐาน
      3.การตรวจสอบสมมติฐาน
      4.การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล
      5.การสรุปผล 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าว 10

ร้อนดุจไฟนรก! เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นของจีน ทำลายสถิติ อุณหภูมิร้อนกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า 16 พฤศจิกายน 2561             ...