วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าว 10

ร้อนดุจไฟนรก! เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นของจีน

ทำลายสถิติ อุณหภูมิร้อนกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า

16 พฤศจิกายน 2561


             การทดลองเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นในเมือง Hefei ของประเทศจีน ตามการทดลองที่มีชื่อว่า Experimental Advanced Superconducting Tokamak (EAST) ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการเร่งอุณหภูมิให้สุงถึง 100 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการสร้างสถิติใหม่ในแวดวงเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear fusion) ที่จะทำให้เราก้าวเข้าใกล้แหล่งพลังงานของโลกยุคใหม่เข้าไปอีกขั้น และสถาบัน Hefei Institutes of Physical Science ในประเทศจีนได้แสดงให้เห็นแล้วว่าวิธีการบีบอัดอะตอมของพวกเขาได้ผล ลึกลงไปในแกนของดวงอาทิตย์ อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันที่อุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส (27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์) ทำให้เกิดแหล่งพลังงานอย่างมหาศาลให้กับดวงอาทิตย์ และถ้าเราต้องการสร้างแหล่งพลังงานในรูปแบบเดียวกับดวงอาทิตย์ เราก็ต้องสร้างเตาอบที่สามารถเร่งความร้อนได้สูงกว่าดวงอาทิตย์เพื่อให้เกิดปฎิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งความร้อนนั้นต้องใกล้เคียงระดับ 7 เท่าของแกนในดวงอาทิตย์

ข่าว 9

นักวิทยาศาสตร์เผย ใต้โลกของเรามีเพชรอยู่นับพันล้านๆ ตัน

24 กรกฎาคม 2561


              ผลงานวิจัยล่าสุดจาก สถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ MIT (Massachusetts Institute of Technology) โดยการศึกษาพฤติกรรมของคลื่นความถี่เสียง Seismic wave ที่เคลื่อนตัวผ่านเข้าถึงชั้นใต้เปลือกโลก ทีมวิจัยของ MIT ได้จับตามองข้อมูลจาก Seismograph เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ และเริ่มต้นทำการประมาณการ แล้วจึงสรุปผลออกมาว่า มันมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีเพชรจำนวนมหาศาล อยู่ลงไปในระดับที่ลึกมากๆ ใต้โลกคาดว่าเพชรจำนวนมหาศาลนี้อยู่ในโซนที่เรียกว่า Cratonic roots ซึ่ง MIT 
            Ulrich Faul จากหน่วยงาน Department of Earth, Atmospheric and Planetary Sciences แห่ง MIT ให้ความคิดเห็นว่า "เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว เพชรไม่ได้เป็นธาตุที่ทรงคุณค่าหรือว่าหายากแต่อย่างใด และเมื่อมองในภาพรวม เพชรก็เป็นแร่ธาตุที่ธรรมดามากๆ และเรายังไม่สามารถเข้าถึงเพชรจำนวนมหาศาลได้ในเวลานี้ แต่ก็แน่นอนว่า บนโลกของเรานั้นมีเพชรในปริมาณมากมายกว่าที่เราเคยคิดกัน"

ข่าว 8

เปิดห้องแล็บเพาะ “ยุงติดเชื้อ” 

มาลาเรียไวแว็กซ์ ต่อยอดวัคซีนต้าน

 29 สิงหาคม 2562


เปิดห้องแล็บเพาะ “ยุงติดเชื้อ” มาลาเรียไวแว็กซ์ ต่อยอดวัคซีนต้าน

            นางเจตสุมน สัตตบงกช หัวหน้าโครงการวิจัยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างยุงต้านเชื้อ “มาลาเรีย”  เพื่อทดสอบวัคซีนป้องกันเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ กลายพันธุ์ดื้อยา ภายใต้โครงการ Malaria Infection Study in Thailand : MIST หลังสถานการณ์มาลาเรียทั่วโลกยังวิกฤต โดยมีคนเป็นไข้มาลาเรียมากกว่า 200 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเกือบ 400,000 คน ที่ตายด้วยไข้มาลาเรีย

ข่าว 7

นักวิทยาศาสตร์หรัฐฯ ปริ้นท์ "ลิ้นหัวใจ" ด้วยคอลลาเจน


3 สิงหาคม 2562

นักวิจัยโชว์ลิ้นหัวใจที่ผลิตจากคอลลาเจนด้วยเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติ (HO / Carnegie Mellon University College of Engineering / AFP)

            นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ ผลิตชิ้นส่วนหัวใจที่สำคัญอย่าง “ลิ้นหัวใจ” จากคอลลาเจน คาดหวังในอนาคตจะผลิตหัวใจได้ทั้งดวง และยังมีความละเอียดสูงสุดในระดับที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ใช้ MRI สแกนหัวใจเพื่อผลิตซ้ำชิ้นส่วนจำเพาะของผู้ป่วย จนได้ลิ้นที่เต้นเป็นจังหวะและมีการเปิด-ปิดได้เหมือนลิ้นหัวใจ เอเอฟพียังย้อนไปถึงงานวิจัยก่อนหน้านี้ของทีมวิจัยอิสราเอลเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเผยว่าสามารถปริ้นท์หัวใจสามมิติที่มีเนื้อเยื่อและเส้นเลือดของมนุษย์ แต่อวัยวะดังกล่าวไม่สามารถทำหน้าที่ปั้มเลือดได้ นักวิทยาศาสตร์พยายามเอาชนะอุปสรรคในการผลิตชิ้นส่วนหัวใจ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่า pH อย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นเหตุให้คอลลาเจนนั้นกลายเป็นของแข็งตามการควบคุมได้อย่างแม่นยำ

ที่มา:https://mgronline.com/science/detail/9620000073678

ข่าว 6

องค์การอนามัยโลกระบุ 'ไมโครพลาสติก' ในน้ำดื่ม 

มีความเสี่ยงต่ำต่อสุขภาพ


23 สิงหาคม 2562



          องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) จัดทำรายงานชิ้นแรกที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากมวลพลาสติกขนาดเล็ก หรือไมโครพลาสติก ซึ่งถูกพบได้ตามเเม่น้ำ ทะเลสาบ แหล่งน้ำทิ้ง หรือแม้กระทั่งในน้ำดื่มของมนุษย์  บรูซ กอร์ดอน ผู้ประสานงานแห่งฝ่าย Water, Sanitation and Health ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เมื่อร่างกายรับไมโครพลาสติกเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร ส่วนใหญ่ของมวลพลาสติกเหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซึมสู่ร่างกายมนุษย์  เขากล่าวว่า มวลพลาสติกขนาดจิ๋วในน้ำจากขวดน้ำดื่ม จะถูกพบมากกว่าในน้ำปะปาเล็กน้อย และบางส่วนที่พบในน้ำขวดมาจากฝาปิด และจากกระบวนการผลิตขวด  WHO เเนะนำตามข้อมูลปัจจุบันว่า ควรมีการกำจัดหรือลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กและสารเคมีที่สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่นเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของ โรคท้องร่วง  ผลการวิจัยพบว่า หากมนุษย์ดื่มน้ำที่มีมวลพลาสติกขนาดเล็กเข้าไป อันตรายที่มีต่อสุขภาพจะอยู่ในระดับต่ำ


ที่มา:https://www.voathai.com/a/who-microplastic-ro/5053828.html

ข่าว 5



วัยรุ่นอังกฤษตาบอด 

หลังกินแต่มันฝรั่งทอดเป็นอาหารหลายปี


3 กันยายน 2019

มันฝรั่ง

           วัยรุ่นชายอายุ 17 ปี ป่วยเป็นโรคเส้นประสาทตาเสื่อมจากภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากเลือกกินแต่อาหารจำพวกมันฝรั่งทอด และ ขนมปังขาวซึ่งทำจากแป้งที่ขัดสีแล้ว รวมทั้งกินผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปอย่างแฮมหรือไส้กรอกบ้างเล็กน้อยนาน ๆ ครั้ง การตรวจวินิจฉัยพบว่าเขายังคงขาดวิตามินบี 12 รวมทั้งวิตามินดีและแร่ธาตุสำคัญอื่น ๆ มีภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ทั้งยังกระดูกผุเพราะสูญเสียแร่ธาตุจากภายใน มีจุดบอดอยู่ตรงกลางภาพที่เขามองเห็น เส้นใยประสาทในเส้นประสาทตาตายลงและเกิดความเสียหายอย่างถาวรจนไม่อาจจะรักษาได้ ท้ายที่สุดแพทย์จึงวินิจฉัยว่า วัยรุ่นผู้นี้มีอาการเข้าข่ายเป็นคนตาบอดตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดไว้

ที่มา https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_2857259

ข่าว 4

บีบีซี กลับไปที่ธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ 

เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงหลังผ่านไป 15 ปี


7 กันยายน 2019

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์ บีบี๙ี

          เดวิด ชุกแมน บรรณาธิการข่าววิทยาศาสตร์ของบีบีซี เดินทางกลับไปยังจุดเดิมบนธารน้ำแข็งเซอร์มิลิก ทางใต้ของกรีนแลนด์ ซึ่งเขาเคยไปเยือนเมื่อปี 2004 โดยพบว่า ธารน้ำแข็งนี้บางลง 100 เมตรในช่วงเวลา 15 ปีเมื่อปี 2004 ว่า กำแพงน้ำแข็งมหึมาบริเวณธารน้ำแข็ง กำลังมีความสูงลดลงที่อัตรา 1 เมตรต่อเดือนเมื่อกลับไปที่จุดเดิมบนธารน้ำแข็งเซอร์มิลิก และพบว่า มันสกปรกอย่างไม่น่าเชื่อมีมลพิษที่ถูกพัดพามาที่นี่จากโรงไฟฟ้าที่อยู่ห่างไกลออกไป" เขากล่าว นอกจากนี้ ยังมีสาหร่ายที่เป็นพืชขนาดเล็ก ที่เติบโตในน้ำแข็งช่วงที่น้ำแข็งละลาย พวกมันทำให้พื้นผิวน้ำแข็งเป็นสีดำ และทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น
ที่มา https://www.bbc.com/thai/international-49621498

ข่าว 10

ร้อนดุจไฟนรก! เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นของจีน ทำลายสถิติ อุณหภูมิร้อนกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า 16 พฤศจิกายน 2561             ...